บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ธันวาคม, 2017

รางวัลเทิดพระเกียรติ

รูปภาพ
รางวัลเทิดพระเกียรติ                  พระอัจฉริยะภาพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชในการแก้ปัญหาดินเสื่อมโทรมโดยใช้หญ้าแฝก เป็นที่ยอมรับในกว้างขวางในระดับนานาชาติ องค์กรระหลว่างประเทศต่างๆ จึงพร้อมในกันทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญโล่และเกียรติบัตร เพื่อเป็นการเถิดพระเกียรติและเผยแพร่เกียรติคุณของพระองค์ท่านในฐานะกษัตริย์นักพฒนา โดยรางวัลต่างๆมีดังนี้ 1.รางวัล The International Erosion Control Association’s International Merit Award เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 ขอบคุณรูปภาพจากhttp://prvn.rdpb.go.th/king.html 2.รางวัลหญ้าแฝกชุบสำริด( The Bronze Vetiver Sculpture Award )  เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2536   ขอบคุณรูปภาพจากhttps://sites.google.com/site/adecmju46002/hya-faek-kab-phrabath-smdec-phraceaxyuhaw

โครงการพระราชดำริเกี่ยวกับการปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ต่างๆ

รูปภาพ
โครงการพระราชดำริเกี่ยวกับการปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ต่างๆ พ.ศ.2535 วันที่ 14มีนาคม พ.ศ.2535       ที่ศูนย์ศึกษาพัฒนาการห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ทรงอธิบายเรื่องหญ้าแฝกกับก๊าซไนโตรเจนและกำจัดสารพิษไม่ให้ไหลลงแม่น้ำ       ที่โครงการหลวงแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ทรงแนะนำให้ชาวไทยภูเขาม้งปลูกหญ้าแฝกระหว่างแถวกะหล่ำปลี 8 มิถุนายน พ.ศ.2535           ที่เขาชะงุ้ม จังหวัดราชบุรีมีพระราชดำริให้ทดลองปลูกหญ้าแฝกเพื่อควบคุมหญ้าคาระบาด 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2535             ที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต มีพระดำรัสแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้เร่งปลูกหญ้าแฝกทั่วประเทศไทยภายในเวลา 2 ปี เพื่อป้องกันปัญหาดินทลาย ทรงเน้นเรื่องการคัดพันธุ์หญ้าแฝกที่ไม่ได้ขยายด้วยเมล็ด พ.ศ.2536   เกิดแผนแม่บทการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ฉบับที่1ถึงฉบับที่4และมูลนิธิชัยพัฒนา ได้จัดตั้งรางวัล  The king of  Thailand Vetiver Awart   ซึ่ งจะมอบเงินจำนวน 10000 ดอลลาร์สหรัฐ แก่งานวิจัยและการส่งเสริมเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับหญ้าแฝกทั้งระดับประเทศและระดับสากล

แนวทางพระราชดำริเกี่ยวกับการปลูกหญ้าแฝกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำ

รูปภาพ
แนวทางพระราชดำริเกี่ยวกับการปลูกหญ้าแฝก เพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำ            พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระปรมินทรภูมิพลอดุลยเดชทรงงานเกี่ยวกับหญ้าแฝกอย่าจริงจังต่อเนื่องนับสิบปีเริ่มขึ้นในช่วง พ.ศ.2534-2536 มีการค้นคว้า ทดลอง วิจัย เพื่อนำหญ้าแฝกมาปลูกตามสภาพพื้นที่ด้วยวิธีการปลูกที่เหมาะสม เช่น ปลูกขวางแนวลาดภูเขากับดินทลาย  ปลูกรอบแหล่งน้ำเพื่อกรองมลภาวะในน้ำ หรือปลูกเป็นแนวกันไฟป่า ขอบคุณรูปภาพจากhttps://sites.google.com/site/itpridsana0542/home/phra-rach-daras-khxng-nihlwng-pheux-pa-laea-na/kar-pluk-hya-faek-tam-naew-phra-rachdar i

ประโยชน์ของหญ้าแฝกด้านการอนุรักษ์ดินและน้ำ

ประโยชน์ด้านการอนุรักษ์ดินและน้ำ -คลุมดิน รักษาความอุดมสมบูรณ์ของหน้าดิน -ป้องกันดินถูกชะล้างพังทลายเลื่อนไหล -ป้องกันดินริมสระพังทลายลงน้ำ ทำให้พื้นสระตื้นเขิน -เสริมความมั่นคงตามแนวตลิ่ง ฝายกันน้ำ ทางระบายน้ำ คลิงส่งน้ำ ริมถนน -ยึดเกาะบริเวณหน้าผา ไม่ให้ดินทลายลงพื้นถนน -ทำให้ดินพัฒนาเป็นดินสมบูรณ์ -กรองเศษพืชและตะกอนดินถูกน้ำพัดพามาทับถม เกิดเป็นคันดินธรรมชาติ -ประหยัดงบประมาณด้านวิศวะกรรมในการป้องกันดินไหลลงบนพื้นผิวจราจร -กลมกลืนกับสิ่งแวดล้อม -ดูดซับน้ำและรักษาความชุ่มชื้นในดิน -ดูดซับแร่ธาตุ อาหาร กลายเป็นอินทรีวัตถุ ทำให้ดินร่วนซุย -ดูดซับสารพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช -ชะลอแรงน้ำท่วมฉับพลันจากเขาสูง ลงมาท่วมหมูบ้านและทำลายพืชผล -ชะลอแรงน้ำ ทำให้ดินมีเวลาดูดซับน้ำ -รักษาปุ๋ยอินทรีที่โคนต้นไม้

ลักษณะของหญ้าแฝก

รูปภาพ
ขอบคุณรูปภาพจาก http://www.iamdoubleo.com/kids/690 1.ดอก      แต่ละช่อจะมีดอกสมบูรณ์เพศประมาณ 50% 2.ลำต้น    ใบยาวตั้งตรงขึ้นเป็นกอแน่น 3.ราก       รากฝอยโตในแนวดิ่ง จากการสำรวจพบว่า หญ้าแฝกมีกระจายอยู่ทั่วโลกประมาณ 12 ชนิด และพบในประเทศไทย 2 ชนิดคือ 1.หญ้าแฝกกลุ่ม     มีถิ่นกำเนิดทางตอนกลางของทวีปเอเชีย สันนิษฐานว่าอยู่ในประเทศอินเดีย พบในพื้นที่กลุ่ม มีความชุ่มชื้นสูงหรือมีน้ำขัง     ลักษณะกอเป็นพุ่ม สูงเต็มที่ประมาณ   150-200 เซนติเมตร ใบยาวตั้งตรงสูงสีเขียวเข้มมีไบเคลือบทำให้ดูมัน ใบอ่อนใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ ช่อดอกสีม่วง รากมีความหอมเย็น และหยั่งลึกลงในดินได้ตั้งแต่ 100-300 เซนติเมตร เป็นสมุนไพรใช้ทำน้ำมันหอม สบู่ และใช้กันแมลงในตู้เสื้อผ้า  2.หญ้าแฝกดอน     มีถิ่นกำเนิดทางเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ในประเทศไทย ลาว เขมร เวียดนาม พบได้ทั่วไปในที่ค่อนข้างแล้ง ลักษณะเป็นพุ่มสูงเต็มที่ประมาณ 100-150 เซนติเมตร ปลายใบจะแผ่โค้งลงคล้ายกอตะไคร้ใบสีเขียวซีด เนื้อใบหยาบ ดูร้านไม่เหลือมัน ชาวพื้นบ้านใช้เป็นวัสดุมุงหลังคา ช่อดอกสีขาวครีม สีม่วง รากไม่มีความหอมและสั้นกว่าหญ้า

ความเป็นมา

รูปภาพ
ขอบคุณรูปภาพจาก http://www.rdpb-journal.in.th/2017/06/12/projectreview_4-2559/     พ.ศ.2534 ประเทศไทยเริ่มพัฒนาสู่สังคมเศรษฐกิจแบบอุตสาหกรรม มีการลงทุนจากต่างประเทศ การค้าพาณิชย์เพื่อการส่งออกและการท่องเที่ยว ขณะเดียวกันก็มีการใช้และทำลายทรัพยากรอย่างกว้างขวาง เช่น การตัดไม่ทำลายป่า ส่งผลให้เกิดอุทกภัยบ่อยและรุนแรง หน้าดินพังทลาย เกิดสภาวะแห้งแร้งรุนแรงและยาวนาน น้ำเสีย เกษตรกรเผชิญปัญหาเกี่ยวกับดิน ไม่สามารถเพาะปลูกเลี้ยงชีพได้เพียงพอ      พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงติดตามปัญหาและสภาวการณ์สิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ทรงศึกษาเอกสารของธนาคารโลกเกี่ยวกับการอนุรักษ์ดินด้วยหญ้าแฝก ทรงเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อการแก้ปัญหาดิน เช่น ดินพังทลาย ดินถล่ม ดินเสื่อมโทรม ดินดาน และดินทราย ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ     มีพระราชดำริให้ทดลองปลูกหญ้าแฝกตามแนวขวางของพื้นที่ลาดเขา เก็บข้อมูลการเจริญเติบโตของลำต้นและราก บันทึกความสมบูรณ์ของดินก่อนและหลังปลูก ศึกษาหาพันธุ์ที่เหมาะสมกับพื้นที่ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงติดตามงานและมีพระราชดำรัสแ

ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

ต้นและใบใช้ทำวัสดุมุงหลังคา ใช้ทำเชือก หมวก ตะกร้า ฯลฯ ใช้ทำเครื่องสมุนไพรและเครื่องประทินผิว ใช้กลั่นทำน้ำหอม ใช้ป้องกันแมลงศัตรูพืช ใช้เป็นวัสดุคลุมดิน ใช้ทำปุ๋ยหมัก

การปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่เกษตรกรรม

    การปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่เกษตรกรรม มีจุดประสงค์ที่สำคัญเพื่อฟื้นฟูทรัพยากรดินและการอนุรักษ์ดินและน้ำซึ่งประกอบด้วย       1.การปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ลาดชัน     ควรปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวตามแนวระดับขวางความลาดเทในต้นฤดูฝนโดยการทำแนวร่องปลูกตามแนวระดับ ใช้ระยะห่างต้น 5 เซนติเมตรสำหรับกล้ารากเปลือย และระยะ 10 เซนติเมตรสำหรับกล้าถุง ระยะห่างแถวตามแนวดิ่งไม่เกิน 2 เมตร หญ้าแฝกจะเจริญเติบโตแตกกอชิดกันภายใน 4 - 6 เดือน       2.การปลูกเพื่อควบคุมร่องน้ำและกระจายน้ำ     นำกล้าหญ้าแฝกในถุงพลาสติกที่มีการแตกกอ และแข็งดีแล้วไปปลูกในร่องน้ำ โดยขุดหลุมปลูกขวางร่องน้ำเป็นแนวตรง หรือแนวหัวลูกศรชี้ย้อนไปทิศทางน้ำไหล อาจใช้กระสอบทรายหรือก้อนหิน ช่วยทำคันเสริมฐานให้มั่นคงตามแนวปลูกหญ้าแฝก ระยะห่างระหว่างต้น 5 เซนติเมตรสำหรับกล้ารากเปลือย และ 10 เซนติเมตรสำหรับกล้าถุง และระหว่างแนวปลูกหญ้าแฝกไม่เกิน 2 เมตร ตามแนวตั้งหลังจากเกิดคันดินกั้นน้ำ ควรปลูกหญ้าแฝกต่อจากแนวคันดินกั้นน้ำออกไปทั้งสองข้าง เพื่อเป็นการกระจายน้ำเข้าสู่พื้นที่เพาะปลูก       3.การปลูกเพื่อรักษาความชุ่มชื้นในสวนผลไม้     ควรปลูกหญ

หญ้าแฝก

    หญ้าแฝก เป็นพืชตระกูลหญ้าที่พบอยู่ทั่วไปตามภาคต่างๆของประเทศ สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินเกือบทุกชนิด ทนต่อสภาพแห้งแล้ง ความเปียกแฉะและสภาพน้ำท่วมขังได้ดี เพราะมีระบบรากลึกและใบแคบที่มีชื่อว่า Vetiveria spp. หญ้าแฝกขึ้นเป็นกอใหญ่ ขนาดของกอประมาณ 5 - 20 เซนติเมตร มีความสูงของลำต้นประมาณ 1 - 1.5 เมตรใบแคบยาวประมาณ 75 เซนติเมตร กว้าง 4 - 10 มิลลิเมตร มีรากเป็นกระจุกเหมือนใยฟองน้ำ สามารถดูดซับน้ำได้ดี ถ้านำมาปลูกเป็นแถวจะช่วยในการดักตะกอนดินและป้องกันการพังทลายของดินได้ดี     จากการสำรวจพบว่า หญ้าแฝกมีกระจายอยู่ทั่วโลกประมาณ 12 ชนิด และพบในประเทศไทย 2 ชนิด คือ        1.หญ้าแฝกลุ่ม     มีถิ่นกำเนิดทางตอนกลางของทวีปเอเชียสันนิษฐานว่าอยู่ในประเทศอินเดีย พบในพื้นที่ลุ่ม มีความชื้นสูงหรือมีน้ำขัง     ลักษณะกอเป็นพุ่ม สูงเต็มที่ประมาณ 150 - 200 เซนติเมตร ใบยาวตั้งตรงสูงขึ้นสีเขียวเข้มมีไขเคลือบทำให้ดูมัน ใบอ่อนใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ ช่อดอกสีอมม่วง รากมีความหอมเย็น และหยั่งลึกลงดินได้ตั้งแต่ 100 - 300 เซนติเมตร เป็นสมุนไพรใช้ทำน้ำมั้นหอม สบู่ และใช้กันแมลงในตู้เสื้อผ้า ฯลฯ     พันธุ์

ประโยชน์ของศาสตร์พระราชา โครงการหญ้าแฝก

กลุ่มของข้าพเจ้าได้ศึกษาในศาสตร์พระราชาในเรื่อง โครงการหญ้าแฝก ได้รับประโยชน์ ดังนี้ 1.ได้รับความรู้เรื่องหญ้าแฝกเพิ่มขึ้น 2.สามารถนำความรู้ที่ได้ศึกษาไปสอนผู้อื่นต่อได้ 3.สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ความรู้สึกของสมาชิกในกลุ่มหลังจากได้ศึกษา ศาสตร์พระราชา โครงการหญ้าแฝก มีดังนี้ สมาชิกคนที่ 1 ด.ญ.ญาดา  กิตติธัญกุล มีความเห็นว่า รู้สึกซาบซึ้งในบุญคุณของท่านที่ท่านทรงดำริโครงการมากมายเพื่อแก้ไขปัญหาที่ทำให้ประชาชนของท่านลำบาก และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ดังนี้ ต้นและใบของหญ้าแฝกสามารถใช้ทำวัสดุมุงหลังคาได้ สมาชิกคนที่ 2 ด.ญ.ณัฐณิชา  นิลเนตรบุตร มีความเห็นว่า รู้สึกภูมิใจที่ได้เกิดมาในสมัยราชกาลที่ 9 ท่านทรงสังเกตเห็นว่าหญ้าแฝกที่ผู้คนไม่ค่อยสังเกตเห็นความสำคัญสามารถป้องกันหน้าดินพังทลายได้ และมีประโยชน์มากมาย และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ดังนี้ ใช้ทำเป็นปุ๋ยหมักและสามารถกลั่นทำน้ำหอมได้ อ้างอิงจากหนังสือศาสตร์พระราชาเรื่องโครงการหญ้าแฝก